วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ดาวพลูโต

ดาวพลูโต
เป็นดาวเคราะห์ดวงเล็กที่สุดในระบบสุริยะ โดยปกติเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลจาก ดวงอาทิตย์ที่สุดเป็นลำดับที่ 9 ในระบบสุริยะ แต่เนื่องจากวงโคจรของดาวพลูโตเป็นวงรีมาก และเอียงออกจากระนาบสุริยวิถีมาก จึงมีบางช่วงนานประมาณ 20 ปี ในรอบการโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ 248 ปี ที่ดาวพลูโตอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวเนปจูน เช่น เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2522 ดาวพลูโตเริ่มเคลื่อนที่ตัดระยะวงโคจรของดาวเนปจูนเข้ามาอยู่ระยะใกล้สุดเมื่อ 5 กันยายน 2532 และยังคงอยู่ภายในระยะวงโคจรของดาวเนปจูนเรื่อยมาจนถึง 11 กุมภาพันธ์ 2542 หลังจากนั้นดาวพลูโตเริ่มโคจรห่างออกไปเป็นดาวเคราะห์ดวงไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุดอีกครั้ง และจะโคจรกลับมาอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวเนปจูนอีกครั้งในเดือนกันยายน พ.ศ.2769
ประวัติการค้นพบ
นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่าคงต้องมีดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งที่รบกวนการโคจรของดาวยูเรนัส และ ดาวเนปจูน และคำนวณทำนายวงโคจรของดาวเคราะห์ดวงนั้นไว้ จนในปี พ.ศ.2473
ไคล์ด ทอมบอห์ ( Clyde W. Tombaugh) ค้นพบดาวพลูโตโดยใช้กล้องโทรทรรศน์จาก หอดูดาวโลเวลล์ รัฐอริโซนา สหรัฐอเมริกา ในตำแหน่งใกล้เคียงกับการคำนวณนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น